วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บรรจุภัณฑ์

การบรรจุภัณฑ์
 
 
1. การที่จะเข้าใจในเรื่องบรรจุภัณฑ์ได้ดีนั้นควรจะต้องรู้ถึงความหมายของบรรจุภัณฑ์เสียก่อนเป็นประการแรก จากนั้นจะสามารถศึกษารายละเอียดของเนื้อเรื่องอย่างได้อย่างมีหลัก และทำให้เข้าในเนื้อหาอย่างท่องแท้ เรื่องของการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการจำหน่ายสินค้าทั้งในด้านการจัดจำหน่ายและการขนส่ง ตลอดจนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
2. การบรรจุภัณฑ์ มีหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ บรรรจุภัณฑ์ของตัวสินค้านั้นๆว่ามีคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ และคุณสมบัติทางด้านเคมีเป็นอย่างไร ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาลักษณะที่ประกอบไปด้วยหลัก4 ประการอันประกอบไปด้วย การรองรับรวบรวม การปกป้องคุ้มครอง ความสะดวกสบายในการใช้สอยและการผลิต ตลอดจนการสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับตัวผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก่อนการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์


ต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิตเเซนวิช
 
 
หากนึกถึงธุรกิจที่ยั่งยืนต้องนึกถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 โดยเฉพาะอาหาร เพราะเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่ในความคิดของใครหลาย ๆ คนอาจคิดว่าธุรกิจอาหารมักได้กำไรน้อยรวยไม่ทันใจ จึงทำให้หลายคนปฏิเสธ แต่ในความเป็นจริงแล้วหากรู้จักทำตลาด เข้าถึงกลุ่มลูกค้า มีทำเลที่ดีและมีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของธุรกิจได้เป็นกอบเป็นกำ อย่าง “N-JOY แซนวิช” ที่เปิดดำเนินการมาเพียง 5 ปี แต่มีผู้สนใจลงทุนกว่า100 รายเป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จที่ไม่อาจมองข้าม
  คุณปรียนันท์ คงเพชร เจ้าของแฟรนไชส์ “N-JOY แซนวิช” เผยจุดเริ่มต้นให้กับทีมข่าว “SMEs สร้างอาชีพ” ว่า เดิมทำธุรกิจ เสื้อผ้ามากว่า 10 ปี แม้จะสามารถสร้างรายได้ให้กว่าหลักแสนต่อเดือนแต่ยังรู้สึกว่าไม่สามารถปลดหนี้ได้แถมยังไม่มีเงินเก็บ จึงได้เบนเข็มมาสู่ธุรกิจอาหาร โดยเริ่มที่เบเกอรี่ แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจของตนได้ เพราะเบเกอรี่มีต้นทุนค่อนข้างสูง จึงมาสำรวจความชอบของตัวเอง ประกอบกับเป็นคนชอบทานแซนวิชอยู่แล้ว จึงทดลองทำแซนวิชแบบใหม่เพื่อไม่ให้ซ้ำกับตลาดที่มีอยู่และปรับปรุงกรรมวิธีตามความรู้ที่ได้เรียนมาและนำไปทดลองให้ญาติรับประทานปรากฏว่าเมื่อทานแล้วทุกคนต่างชอบจึงได้ทดลองทำเป็นธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจในช่วงแรกนั้นยังไม่ได้เปิดเป็นร้านอย่างเป็นทางการ เพียงทำส่งตามร้านต่างๆ จนกระทั่งนำไปทดลองขายในงานกาชาดที่จัดขึ้นที่องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม โดยได้รับเกียรติจาก หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ มาเป็นประธานเปิดงาน
 ซึ่งคุณปรียนันท์กล่าวด้วยความประทับใจว่า บังเอิญว่ารถของหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี มาจอดที่หน้าร้านพอดี พอท่านลงจากรถแล้วเดินเข้าไปที่ร้านแล้วหยิบแซนวิชจากเตาขึ้นมาทาน ท่านก็ชมว่าอร่อยก่อนจะเข้าไปในพิธี หลังจากนั้นก็ได้คุยและได้รับคำแนะนำจากหม่อมราชวงศ์ถนัดศรีให้เปิดเป็นแฟรนไชส์ โดยให้เหตุผลว่าจะสามารถต่อยอดธุรกิจและสร้างความยั่งยืนให้มากกว่าขายสูตรเพียงอย่างเดียว จนมาเป็น N-JOY แซนวิช นับถึงปัจจุบันดำเนินธุรกิจมาได้กว่า 5 ปีสามารถขยายแฟรนไชส์ได้กว่า 100 สาขาทั่วภูมิภาค
จุดเด่นของ N-JOY แซนวิช นอกจากความหลากหลายที่มีให้เลือกกว่า 20 ไส้แล้วยังมีกรรมวิธีที่ถือได้ว่าสดใหม่ ด้วยการย่างบนเตาร้อนๆ ซึ่งวิธีนี้ คุณปรียนันท์เผยว่าเป็นการบล็อคยีสต์ โดยมากแล้วหากไม่ได้ทำให้ขนมปังสุกก่อนบางครั้งเมื่ออากาศร้อนๆ หรือทำทิ้งไว้นานๆเมื่อนำมาทานจะทำให้ปวดท้องเพราะยีสต์ในขนมปังจะพองตวั ดงั นนั้ การยางแบบไม่ให้เกรียมมากซิ่ง นอกจากจะบล็อคยสีต์ไม่ให้พองตัวแล้วยังทำให้มีกลิ่นที่หอมน่ารับประทาน


 



นอกจากนี้ขนมปังที่ใช้เป็นขนมปังที่นุ่มพิเศษไม่เหนียวแม้จะทิ้งไว้เป็นวันรสชาติก็ยังนุ่มลิ้น ส่วนไส้ต่างๆ จะทาให้ทั่วแผ่นโดยเลือกใช้วัตถุดิบเกรดเอ ที่สำคัญราคาสามารถจับต้องได้เพียงชิ้นละ 10 บาทก็อิ่มท้อง


 



สำหรับผู้ที่สนใจร่วมธุรกิจกับ N-JOY แซนวิช คุณปรียนันท์กล่าวว่า อันดับแรกให้สำรวจใจตัวเองก่อนว่าพร้อมจะเป็นพ่อค้า-แม่ค้า ขายแซนวิชร้อนหรือไม่ เพราะต้องอยู่กับหน้าเตาร้อนๆ ซึ่งบางคนไม่สามารถทนได้ อันดับที่สองคือความพร้อมเรื่องสถานที่โดยจะสำรวจให้ว่าเป็นแหล่งที่สามารถขายได้หรือไม่และจะมีรายได้เท่าไหร่ อันดับสุดท้ายคืองบลงทุน เริ่มต้นที่ 49,000 บาท เหมาะกับการเปิดร้านขายทั่วไปตามสถานที่ต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้อุปกรณ์ที่ได้รับได้แก่ เคาน์เตอร์สแตนเลสพับเก็บได้ พร้อมป้ายเมนูโลโก้ สีสันสดใส เตาย่างแซนวิช ถังแก๊ส+หัวแก๊ส วัตถุดิบพร้อมขายธงญี่ปุ่น, แพคเกจจิ้งครบชุด สติ๊กเกอร์โลโก้สินค้า พร้อมสอนสูตรและแนะนำการต่อยอดธุรกิจอย่างการขายส่งตามร้านอื่นๆ เป็นต้นแต่สำหรับใครที่สนใจจะขยายสาขาภายในจังหวัดหรืออำเภอ ติดต่อได้เป็นกรณีพิเศษ

สำหรับผลตอบแทนที่จะได้รับ แซนวิชหนึ่งชิ้นขายชิ้นละ 10 บาทหากมีทำเลที่ดีสามารถขายได้วันละ 500 ชิ้น จะมียอดขายอยู่ที่ 5,000 บาท โดยคดิ ตน้ ทนุ ที่ 50% จากยอดขายทงั้ หมด โดยในหนึ่งวันจะมีกำไรที่ 2,500 บาท คิดเป็น 65,000-100,000 บาทต่อเดือน ซึ่งสามารถคืนทุนได้ภายใน 1 เดือน

ส่วนการทำตลาดนั้นนอกจากจะประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆแล้วยังไปเปิดตลาดให้ในวันแรก สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มงานและไม่มั่นใจว่าจะขายได้หรือไม่ โดยคุณปรียนันท์ จะเดินทางไปช่วยขายและช่วยประชาสัมพันธ์ถึงหน้าร้าน

“ในช่วงชีวิตของทุกคนย่อมมีขึ้นมีลง ใครที่เคยผิดพลาดไปอยากให้ฮึดสู้ใหม่ ทุกคนสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ หากใครที่รักสิ่งไหนก็ให้ทำสิ่งนั้น แต่หากใครไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรอยากให้มาร่วมธุรกิจกับเราก่อน เพราะว่าเราเป็นธุรกิจขายอาหารซึ่งมีตลาดรองรับอยู่แล้วที่สำคัญแซนวิชของเราราคาไม่แพงสามารถจับต้องได้และไม่ซ้ำใครในตลาด ขอให้มีเพียงทำเลที่ดีก็สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้แล้ว” คุณปรียนันท์กล่าวทิ้งท้าย

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา
 
 
การกินขนมปัง (Bread) ควบคู่กับอาหารประเภทอื่นๆ นั้น มีมาตั้งแต่สมัยที่มีการผลิตขนมปังในช่วงยุคหินใหม่ (Neolithic; 10,000 ปีก่อน ค.ศ.) แล้ว ตัวอย่างเช่นนักบวชชาวยิวนามว่า ฮิลเลล (Hillel) ได้ใช้ขนมปังแมทซา (Matzah; เป็นขนมปังกรอบ (Cracker) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายขนมปังทำจากแป้งผสมกับน้ำ) ห่อเนื้อลูกแกะและผักรสขมเพื่อใช้กินในช่วงเทศกาลในฤดูใบไม้ผลิ (Passover)

ในช่วงยุคกลาง (Middle Aga) มีการนำเอา เทรนเชอร์ (Trenchers; เขียง) ที่ทำจากแป้งหนาและหยาบมาใช้เป็นจานใส่อาหาร หลังจากกินเสร็จแล้วก็จะนำเอาเทรนเชอร์ไปให้สุนัขหรือขอทาน หรือบางครั้งเจ้าของก็อาจจะกินเสียเอง (or eaten by the diner) – เทรนเชอร์ถือเป็นต้นแบบของแซนดิช (Sandwich)


ต้นกำเนิดวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงมาสู่แซนวิชของชาวอังกฤษนั้น พบว่ามาจากในช่วงศตวรรษที่ 17 ในประเทศฮอลแลนด์ ซึ่งนักธรรมชาติวิทยา (Naturalist) ที่ชื่อ จอห์น เรย์ (John Ray) ได้ลองทำตาม (Observe) โรงขายเหล้า (Tavern) ที่แขวนเนื้อวัวไว้กับคาน (Rafter) แล้วแล่เนื้อเป็นชิ้นบางๆ นำไปกินคู่กับขนมปังและเนย โดยวางเนื้อที่แล่ออกมาลงบนเนย

คำว่า แซนวิช ในภาษาอังกฤษปรากฏครั้งแรกในวารสาร (Journal) ของ เอ็ดเวิร์ด กิบบอน (Edward Gibbon) ซึ่งใช้อ้างถึง ชิ้นเนื้อเย็นๆ ชิ้นเล็กๆ (bits of cold meat) – ชื่อดังกล่าวตั้งตามชื่อของ จอห์น มอนทากู (John Montagu) หรือ เอิร์ลแห่งแซนวิชที่ 4 (4th Earl of Sandwich) ซึ่งเป็นขุนนางชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 18 – กล่าวกันว่า ลอร์ดแซนวิช ได้คิดค้นรูปแบบของอาหารชนิดนี้ขึ้นมา เพื่อให้สะดวกในการ "เล่นไพ่" โดยไม่ทำให้สำรับไพ่ของเขาเลอะเทอะจากการกินเนื้อด้วยมือเปล่า

ข่าวลือดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในหนังสือชื่อ Pierre-Jean Grosley’s Londres (Neichatel, 1770) และถูกแปลมาเป็น A Tour to London 1772 – ซึ่งกรอสเลย์ (Grosley) ได้มารู้จักกับอาหารชนิดนี้และเกิดความความประทับใจ ในช่วงที่เขามาอยู่ลอนดอนในปี 1765 – นอกจากนี้ เอ็น.เอ.เอ็ม ร๊อดเจอร์ (N.A.M. Rodger) ได้นำเข้ามาใช้ในกิจการราชนาวี แล้วจึงแพร่หลายเข้ามาสู่โต๊ะอาหารของคนทั่วไปในที่สุด

ความนิยมในการกินแซนวิชในประเทศสเปนและอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระหว่างศตวรรษที่ 19 เมื่อสังคมเปลี่ยนมาสู่สังคมอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นอาหารที่ทำได้เร็ว, สะดวกและราคาไม่แพง และในเวลาเดียวกัน แซนวิชก็เริ่มเป็นที่รู้จักในหลายประเทศนอกทวีปยุโรป จนกระทั่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ขนมปังกลายมาเป็นอาหารหลักของชาวอเมริกัน แซนวิชก็กลายมาเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม นอกจากนี้ความนิยมของแซนวิชยังได้แพร่ขยายไปจนถึงแถบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean) อีกด้วย

ทีทำเลค้าขาย

ที่ทำเลค้าขาย
 
 
การเลือกทำเลสำหรับค้าขายของปลีกนั้นสำคัญมากกว่าธุรกิจชนิดอื่นๆ เนื่องจากมีผลโดยตรงต่อรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
เบื้องต้นการเลือกทำเลนั้น ควรอยู่ใกล้กับแหล่งของผู้ซื้อเช่น หากเปิดร้านขายกิ๊ฟช็อป ก็ควรอยู่ใกล้กับสถานที่ๆมีผูหญิงอยู่เยอะ หากเปิดร้านเสื้อผ้า ก็ต้องอยู่ใกล้กับสถานที่ๆมีคนพลุกพล่าน ก็จะช่วยให้การค้าขายคล่องตัวขึ้น
หากมีธุรกิจข้างเคียงที่ส่งเสริมกันก็จะช่วยให้ธุรกิจ มียอดขายมากขึ้นด้วยเช่น หากเปิดร้านการแฟ แล้วอยู่ใกล้ๆกับร้านเบเกอรี่ ร้านเน็ทคาเฟ่ ร้านหนังสือ ก็จะช่วยกระตุ้นยอดขายได้ด้วย
อำนาจการซื้อของผู้คนบริเวณนั้น บางครั้งแม้อยู่ย่านชุมชนแต่ผู้คนที่นั่นอาจมีกำลังซื้อต่ำก็เป็นได้ เช่นอยู่ในแหล่งชุมชนแออัด ก็ไม่สามารถที่จะขายของราคาแพงได้ดี แต่อาจจะขายของกินหรือปัจจัยสี่ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เป็นต้น
อย่าตั้งร้านค้าในบริเวณใกล้เคียงกันกับผู้ที่ประกอบธุรกิจแบบเดียวกัน เพราะจะเป็นการแข่งกันเอง และอาจจะพากันต้องปิดกิจการก็เป็นได้ นอกจากว่าตลาดตรงนั้นยังมีความต้องการสูงและยังมีผู้ขายน้อยรายก็อาจพิจารณาตั้งธุรกิจตรงนั้นก็ได้

วิธีการทำเเซนวิช

วิธีทำเเซนวิช
 
 
 
 

วิธีทำแซนวิชทูน่า (Tuna Sandwich)

  1. นำทูน่าที่เอาน้ำในกระป๋องออกแล้ว ใส่ลงโถปั่น พร้อม เกลือ พริกไท และ น้ำสลัด
  2. ปั่นด้วยความเร็วสูงสุด จนส่วนผสมทุกอย่างเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน และฟูจนเป็นมูส
  3. นำมูสทูน่า ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับแครอทสับ พริกหวานสับ หอมแดงสับ แครอทสับ และไข่กุ้ง
  4. ตักใส่ภาชนะ และไว้ปาดบนขนมปังเป็นไส้แซนวิช

อุปกรณ์การทำเเซนวิช

อุปกรณ์การทำเเซนวิช
 

 
 
1.มีด
2.จาน
3.ช้อนส้อม
4.ถ้วย
5.ไม้จิ้มฟัน
 

ส่วนผสม

เเซนวิชทูน่า
 
 
 
 
 
เตรียมส่วนผสม

1.ทูน่า
2.มายองเนส
3.ผักใบเขียว
4.ขนมปัง
5.เนย